facebook

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายอาญา


ประวัติศาสตร์กฎหมายอาญาไทย
แม้ว่าตามแนวคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญา กฎหมายควรจะมีการบัญญัติขึ้นจากเจตจำนงค์ของประชาชน (ภาษาเยอรมัน Volkgeist) ก็ตาม แต่ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน มิได้มีการบัญญัติขึ้นตามแนวคิดดังกล่าว หากแต่เป็นการเร่งรัดและรีบให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้กฎหมายมีความเหมาะสมตามกาลสมัยที่พัฒนามาจาก กฎหมายลักษณะอาญา รศ.๑๒๗ เพื่อให้กฎหมายมีความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ (ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙)

ประวัติศาสตร์กฎหมายอาญาสากล
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเภทของความผิด
ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

1.ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค
[แก้] ลักษณะของการเกิดความผิด
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

1.ความผิดโดยการกระทำ
2.ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
3.ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม

เขตอำนาจระหว่างประเทศ

ศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์
เขตอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา
โครงสร้างความรับผิดทางอาญาเป็นโครงสร้างที่ใช้พิจารณาความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำว่ามีความผิดมีโทษหรือไม่ประการใด แบ่งออกเป็น 3 ขั้นในการพิจารณาได้แก่
การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
อำนาจกระทำ (กฎหมายยกเว้นความผิด)
กฎหมายยกเว้นโทษ (เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ)

เนื้อหาของบทความนี้หรือส่วนนี้ไม่ได้นำเสนอมุมมองที่เป็นสากล ซึ่งควรมีสาระสำคัญครอบคลุมหัวเรื่องเดียวกันในระดับสากล นอกเหนือไปจากในประเทศไทยหรือในภูมิภาคที่กำลังกล่าวถึง คุณสามารถพัฒนาได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่
โครงสร้างที่ 1 การกระทำครบองค์ประกอบ
มีการกระทำ (ม.59) คือ เคลื่อนไหว หรือ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
ครบองค์ประกอบภายนอกของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น
ครบองค์ประกอบภายในของการกระทำความผิดในเรื่องนั้น
ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทำและผล
ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ถ้าผลนั้นเป็น “ผลโดยตรง” (ทฤษฎีเงื่อนไข) มาจากการกระทำของผู้กระทำ คือ ถ้าไม่ทำ ผลไม่เกิด ผลที่เกิดนั้นถือว่าเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ แต่ถ้าไม่ทำผลก็เกิด ผลที่เกิดไม่ใช่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้กระทำ
ถ้าผลแห่งการกระทำทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายก็ต่อเมื่อ ผลนั้นเป็น “ผลโดยตรง” และเป็น “ผลธรรมดา” (ม.63) ”ผลธรรมดา” คือ ผลที่ผู้กระทำคาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั้น ไม่จำต้องถึงขนาดเล็งเห็นผล ระดับการวินิจฉัยคือ “วิญญูชน” หากวิญญูชนไม่สามารถคาดเห็นได้ แม้ผู้กระทำจะคาดเห็นได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
ถ้าผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นโดยมีเหตุแทรกแซง (คือ:เหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการกระทำของผู้กระทำในตอนแรก และเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น) ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลาย ก็ต่อเมื่อเหตุแทรกแซงนั้นเป็นสิ่งที่ “วิญญูชน” คาดหมายได้ แต่ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลาย แต่ต้องรับผิดเพียงเท่าที่ตนได้กระทำไปแล้วก่อนมีเหตุแทรกแซง
โครงสร้างที่ 2 อำนาจกระทำ
การกระทำความผิดโดยจำเป็น (ม.67)
การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี และไม่เกิน 15 ปี (ม.73 และ ม.74)
การกระทำความผิดของคนวิกลจริต (ม.65 ว.1)
การกระทำความผิดของผู้มึนเมาที่เข้าข้อยกเว้น (ม.66)
การกระทำความผิดตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน (ม.70)
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบาง ความผิดระหว่างสามีและภรรยา (ม.71 ว.แรก)
โครงสร้างที่ 3 กฎหมายยกเว้นโทษ
กฎหมายยกเว้นโทษ มีที่มาจากการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหาย ซึ่งเกิดจากการการกระทำ อันละเมิดต่อกฎหมายของบุคคลอื่น ตามหลักทั่วไปในเรื่อง สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยได้บัญญัติหลักของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 2 หลักด้วยกัน คือ
หลักกฎหมายยกเว้นโทษ
หลักกฎหมายยกเว้นความผิด
หลักกฎหมายยกเว้นโทษนั้น เป็นกรณีที่มีการกระทำอันเป็นความผิดเกิดขึ้นแล้วแต่กฎหมายไม่ประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนั้น เช่น กรณีตาม ป.อ.มาตรา 67 เป็นเรื่องของ การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น หากการกระทำนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้นถือว่าได้กระทำความผิดแล้ว แต่กฎหมายไม่ประสงค์จะลงโทษ เนื่องจากเป็นการกระทำเพราะความจำเป็นเพื่อให้ตนหรือบุคคลอื่นพ้นจากภยันตรายอันใกล้จะถึงและไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้
หลักกฎหมายยกเว้นความผิด เป็นกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วเหมือนกันแต่ กฎหมายให้ถือว่าไม่มีการกระทำความผิด ตัวอย่าง เช่นป.อ.มาตรา 68 การกระทำเพื่อป้องกัน เป็นกรณีที่มีการกระทำผิดขึ้นแต่กฎหมายถือว่าไม่เป็นความผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น